จำนวนครั้งของความสำเร็จ

จำนวนครั้งของความสำเร็จ

นักตรรกศาสตร์จะต้องโต้แย้งว่าที่จุดสิ้นสุดของมาตราส่วน (ค่า 0 และ 1) ไม่มีจริง แต่วิศวกรต้องไม่เห็นด้วยกับข้อนี้เมื่อมองใน


 ทางปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น ความน่าจะเป็นที่คนหนึ่งคนจะมีชีวิตอยู่ได้ตลอดกาลเป็น 0 และความน่าจะเป็นที่คนหนึ่งคนจะต้องตายในวันหนึ่งเป็น 1
จากนิยามของความน่าจะเป็น สามารถเป็นเหตุผลที่จะใช้สันนิษฐานว่ามีเหตุการณ์น้อยมากที่จะไปถึงจุดปลายของมาตราส่วนของความน่าจะเป็น เหตุการณ์ส่วนมากจะมีดรรชนีความน่าจะเป็นอยู่ระหว่างทั้งสองค่านี้ สำหรับเหตุการณ์ซึ่งเป็นไปตามแต่ละแบบนั้นจะมีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้อย่างน้อย2แบบอันแรกสามารถพิจารณาเป็นผลลัพธ์ที่ต้องการหรือสำเร็จ = success และอีกอันคือล้มเหลว = failure สำหรับเหตุการณ์ที่มีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้มากกว่าสอง ส่วนมากจะสามารถรวมผลลัพธ์ที่เป็นความสำเร็จไว้ด้วยกัน และรวมผลลัพธ์ที่เป็นความล้มเหลวไว้ด้วยกัน การจัดกลุ่มผลลัพธ์ในวิธีนี้จะสามารถสร้างกลุ่มย่อย (subset) ของผลลัพธ์จากกลุ่มที่สมบูรณ์ของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ ทำให้สามารถพิจารณาความน่าจะเป็นของความสำเร็จและความล้มเหลวได้ดังนี้



P (สำเร็จ)     = จำนวนครั้งของความสำเร็จ
                   จำนวนผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด

P (ล้มเหลว)  = จำนวนครั้งของความล้มเหลว
                  จำนวนผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด







ดังนั้น ถ้ากำหนดให้ s = จำนวนวิธีที่ผลสำเร็จสามารถเกิดขึ้นได้



และ f = จำนวนวิธีที่ผลล้มเหลวสามารถเกิดขึ้นได้
P(สำเร็จ) = p = s
s+f
P(ล้มเหลว) = q = f
s+f
และ p+q = 1
แล้วกับชีวิตของคนธรรมดาอย่างเราล่ะ ความน่าจะเป็นสำหรับเรา ต้องมีอะไรมาเกี่ยวข้องบ้าง ถ้าไม่สำเร็จ มันจะมีค่าเท่ากับความล้มเหลวเสมอไปรึเปล่า ???
กับเรื่องบางเรื่อง ที่เรามองเห็น และลงมือตัดสินว่า P (ล้มเหลว) = 1 นั่นหมายความว่าเรากำหนดอีกค่าหนึ่ง คือ P (สำเร็จ) = 0 ตั้งแต่ที่เรายังไม่ลงมือทำอะไรเลยด้วยซ้ำ



ถ้า ณ วันนี้ เราตัดสินไปแล้วจนทำให้เราละทิ้งความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จไป วันข้างหน้าเราจะเสียใจกับมันหรือไม่ หากวันหนึ่งเราพบว่า ความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จนั้น มันมีค่าเท่ากับ 0.99 แต่ ณ เวลานั้น เรากลับไม่ได้ยืนอยู่ในพื้นที่ที่เราจะได้สัมผัสความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จนั้นแล้ว ทางเลือกเรามีแค่ 0.01 เราจะยอมรับมันได้มากแค่ไหน



ถ้าวันนี้ เรายังสัมผัสกับคำว่า “เป็นไปได้” อยู่ เราก็ต้องทำให้มันเป็นไปได้ ทิ้งคำว่าเป็นไปไม่ได้ ออกไป ทำสิ่งที่เราเรียกว่าเป็นไปได้ ให้ดีที่สุด



อย่าใช้คำว่า “เป็นไปไม่ได้” มาตัดสินอนาคต เพราะบางทีทางเลือกของความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จ ที่มีค่าเท่ากับ 0.01 อาจจะเป็นทางเลือกเดียวที่รอเราอยู่ ก็ได้..... ใครจะรู้