รัฐธรรมนูญไทย

รัฐธรรมนูญไทย


วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันรัฐธรรมนูญของไทย เป็นวันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีพระปรารภหวังว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเป็นที่สถาพร มีประสิทธิภาพ เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขของประชาชน และนำให้ประเทศชาติบ้านเมือง บรรลุถึงความเจริญวัฒนา เท่าเทียมนานาประเทศ

พระราชทานรัฐธรรมนูญ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ 10 ธันวาคม 2475 ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร สำหรับพระราชทานให้ใช้เป็นกฎหมายสูงสุด ในการปกครองอาณาจักรสยาม ในระบอบประชาธิปไตย

พระราชทานวโรกาส

ให้คณะราษฎร ข้าราชการ ทหาร พลเรือนและประชาชน เข้าเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท เสด็จออก สีหบัญชร ณ. พระที่นั่งอนันตสมาคมพระราชวังดุสิต หลังจากทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

พิธีสมโภชรัฐธรรมนูญฉบับถาวร

ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตระเตรียมที่จะพระราชทานอำนาจอธิปไตย ให้แก่ราษฎรอยู่แล้ว แต่เมื่อมีคณะราษฏร์แสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้า โดยเข้ายึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ทรงละพระบรมเดชานุภาพลงด้วย ไม่มีพระประสงค์จะให้มีการขัดใจระหว่างชาวไทยด้วยกัน ทรงเสด็จออก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ในพิธีสมโภชรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475

รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 สำหรับให้ใช้เป็นกฎหมายสูงสุด ในการปกครองประเทศสยาม ในระบอบประชาธิปไตย

ทรงสละราชสมบัติ

ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่9) เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปในการพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ รัฐสภา ซึ่งเป็นที่ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์นั้น มีลายจารึกพระราชหัตเรขาจำลอง เมื่อครั้งประกาศสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477

พระบรมราชานุสาวรีย์

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ทรงพระบรมรูป เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ ในการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย

อำนาจนิติบัญญัติ

เป็นอำนาจในการบัญญัติกฎหมายต่างๆ ซึ่งประชาชนเป็นผู้เลือกผู้แทนของตนเข้าไปเป็นตัวแทนในรัฐสภา ซึ่งเป็นสภาที่มีหน้าที่บัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งผู้แทนนี้คือ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์"

อำนาจบริหาร

เป็นอำนาจในการบริหารประเทศ ฝ่ายบริหารซึ่งได้แก่ คณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญกำหนด เพื่อวางแผนในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ที่ทำเนียบรัฐบาล

อำนาจตุลาการ

ฝ่ายตุลาการ ทำหน้าที่ตีความกฎหมาย และตัดสินคดีความทั้งทางแพ่งและอาญา ด้วยความยุติธรรม อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรม

พระที่นั่งอนันตสมาคม

แต่เดิมในอดีตเป็นสถานที่ที่ใช้ในการประชุมสภา แต่ปัจจุบันนี้จะใช้ในโอกาสกระทำพิธีเปิดประชุมสามัญ ประจำปีสมัยแรก และพระราชพิธีที่สำคัญเท่านั้น

กระทรวง ทบวง กรมฯ

หน่วยงานของภาครัฐบาลที่จะต้องทำหน้าที่บริหารงาน ในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศ

การเลือกตั้ง

คือ กระบวนการที่ประชาชนได้มีส่วนร่วม ในการปกครองประเทศ โดยการเลือกผู้แทนราษฎรของตนเข้าไปในสภา บริหารงานแทนตนใน
baanjomyut.com

หากต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติรัฐธรรมนูญไทย สามารถเข้าไปไปที่เว็บไซด์ของสถาบันพระปกเกล้า ที่ http://www.kpi.ac.th/ ซึ่งจะอธิบายประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย และ www.parliament.go.th/ ซึ่งจะรวบรวมรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับไว้ให้ศึกษา อันรวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติมด้วย รวม ๓๕ ฉบับ (นับรวมฉบับแก้ไข แต่ฉบับหลักมี ๑๘ ฉบับ นับถึงฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐)

กุรบานในอิสลาม

การกุรบานในอิสลาม

การกุรบานเป็นอิบาดะฮ์หนึ่งจากอิบาดะฮ์ด้านทรัพย์สินแ

จำนวนครั้งของความสำเร็จ

จำนวนครั้งของความสำเร็จ

นักตรรกศาสตร์จะต้องโต้แย้งว่าที่จุดสิ้นสุดของมาตราส่วน (ค่า 0 และ 1) ไม่มีจริง แต่วิศวกรต้องไม่เห็นด้วยกับข้อนี้เมื่อมองใน