แนวทางในการสร้างแรงจูงใจ


ในการสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงาน ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานจะต้องเลือกวิธีการจูงใจ ให้เหมาะสมกับสภาพงาน และตัวบุคคลผู้ปฏิบัติงาน เพราะองค์กรแต่ละแห่ง ย่อมมีวิธีการ ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ได้มีการจำแนกแนวทางใน การจูงใจในการปฏิบัติงานไว้หลายวิธี (สมพงษ์ เกษมสิน, 2516 อ้างในวิเชียร ศรีพฤกษ์, 2546) ดังนี้
การดำเนินการอย่างเด็ดขาด (Be strong) การจูงใจโดยวิธีนี้มุ่งบังคับให้บุคคล ปฏิบัติงานและหากไม่ปฏิบัติตาม ก็ให้ไล่ออกไป วิธีการนี้ มีแนวคิดที่มุ่งยึดถือบุคคลเสมือนวัตถุ คนที่เข้ามาปฏิบัติงานเป็นเสมือน ผู้ขายแรงงาน ซึ่งองค์กร จำต้องใช้แรงงานให้คุ้มค่า และองค์กรมี ความนึกคิดว่า การที่บุคคลเข้ามาปฏิบัติงานและได้ค่าจ้างตอบแทนแล้วนั้น เป็นการ สนองความ ต้องการของคนงานแล้ว ดังนั้น บุคคลเหล่านั้นอาจไม่ปฏิบัติงานโดยเต็มกำลังความสามารถ เหตุว่า ความต้องการ ของเขา ได้รับการสนองตอบแล้ว ดังนั้น องค์การจึงต้องเข้มงวดกวดขัน การปฏิบัติงาน การขู่เข็ญ และการลงโทษ อย่างรุนแรง เป็นเครื่องมือจูงใจอันสำคัญตามวิธีการนี้

การดำเนินการอย่างละมุนละม่อม (Be good) การจูงใจโดยวิธีนี้มุ่งที่จะสร้าง ความสัมพันธ์อันดี ระหว่างองค์กรกับผู้ปฏิบัติงานหรือระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้เกิด ความร่วมมือร่วมใจกัน องค์กรพยายามสนองความต้องการพื้นฐานของผู้ปฏิบัติงาน และองค์ประกอบ ในการปฏิบัติงานอื่น ๆ เท่าที่ควรจะจัดให้ได้ เช่น การจัดสภาพการปฏิบัติงานที่ดี การจัดสวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ ให้แก่คนงาน เพื่อจะได้มีกำลังใจ และกำลังขวัญในการปฏิบัติงานดีขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานขององค์กร

การดำเนินการแบบต่อรอง (Implicit bargaining motivation) การจูงใจโดยวิธีนี้ มุ่งที่จะสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างองค์กรกับผู้ปฏิบัติงาน หรือระหว่างผู้บังคับบัญชา เช่น การจัดหาอุปกรณ์การปฏิบัติงาน การจัดสภาพการปฏิบัติงานที่ดี การกำหนดอัตราค่าจ้าง และชั่วโมง การทำงานร่วมกัน โดยการต่อรองบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และความสามารถที่ พึงปฏิบัติได้ ซึ่งจะสร้างความพึงพอใจและจูงใจ ให้ผู้ปฏิบัติได้อุทิศแรงกายและแรงใจ ให้แก่งานอย่างเต็มที่ ลักษณะการจูงใจ แบบต่อรองนี้ ยังรวมถึงการควบคุมการปฏิบัติงานของคนงานด้วย เช่น องค์กร อาจกำหนดมาตรฐาน และชั่วโมงการ ปฏิบัติงานไว้ หากคนงานปฏิบัติงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย ถูกต้องตามมาตรฐาน ก็จะผ่อนคลายการควบคุม หรือให้ควบคุม กันเองก็ได้

การดำเนินการโดยการแข่งขัน (Competition motivation) การจูงใจโดยวิธีนี้มี ลักษณะเป็นแบบปฏิฐาน (Positive motivation) องค์กรหรือหัวหน้างานจะต้องกำหนดวิธีการ วัดผลไว้ และแจ้งให้ผู้ร่วมงานทราบถึงวิธี การวัดและผล ที่จะมอบ ให้เมื่อปฏิบัติงานได้ผลดี เช่น การจูงใจ ด้วยการให้เลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ เป็นต้น การจูงใจ ในลักษณะนี้ นอกจากจะสามารถทำได้เป็นรายบุคคลแล้ว ยังอาจนำไปใช้ในการจูงใจเป็น กลุ่มได้อีก ด้วย เช่น จัดให้มีการแข่งขันการปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดสามัคคี ธรรมในกลุ่ม และเกิดการ แข่งขัน ในการปฏิบัติงานระหว่างกลุ่ม อย่างไรก็ดี นักบริหารจะต้อง ระมัดระวังเกี่ยวกับ ข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างกลุ่ม และหาทางป้องกันไว้ด้วย

การดำเนินการแบบให้จูงใจตนเอง (Internalized motivation) การจูงใจโดยวิธีนี้มี จุดมุ่งหมาย ที่จะสร้างความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานให้แก่บรรดาพนักงานเอง โดยจูงใจให้เกิด ความรู้สึกเป็น เจ้าของและมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมกัน พยายามสร้างสรรค์ให้เกิดความร่วมจิต (Collective mind) และร่วมมือ (Cooperation) ในบรรดาผู้ปฏิบัติงาน สร้างท่าที ในการเป็นพวก พ้องเดียวกัน (Sense of belonging) ขึ้นในกลุ่มของคนงาน การนำวิธีให้บรรดา ผู้ร่วมงานได้มี ส่วนร่วม (Participation) ในการปฏิบัติงาน การกำหนดวัตถุประสงค์ เกณฑ์ควบคุมงาน ตลอดจนการ มีสิทธิ์มีเสียงต่าง ๆ จะช่วยให้เ กิดความรัก และหวงแหนในงาน และองค์กรของตนขึ้น อันจะเป็นผล ทำให้คนงานมีสัมพันธ์อันดีต่อองค์กร และหน่วยงาน การจูงใจโดยวิธีนี้ หากสร้างสรรค์ให้มีขึ้นได้ จะให้ความก้าวหน้า อันจีรังแก่องค์กรเป็นอันมาก นอกจากนี้ ในการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานควรที่จะ รู้จัก Motive Profile ของพนักงานด้วย ซึ่ง Motive Profile ของพนักงานแต่ละคนนี้ จะต้องผ่าน การวิเคราะห์โดยนักจิตวิทยา โดยใช้วิธีการและเครื่องมือเกี่ยวกับ การวิเคราะห์พฤติกรรมของคน แต่สำหรับผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน ที่ได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์สูง ก็จะสามารถ วิเคราะห์ Motive Profile ของพนักงานได้โดยการใช้การสังเกตอย่างใกล้ชิด Motive Profile สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

Achievement Motive คือความสุขที่เกิดจากการได้ทำในสิ่งที่ดีกว่าที่คนอื่นได้เคยทำ มาแล้วหรือดีกว่ามาตรฐาน ของความเป็นเลิศ (Standard of Excellence) หรือได้เติบโตไปในสาย อาชีพได้เร็วกว่าคนอื่นเป็นต้น สำหรับคนที่มี Achievement Motive สูงๆ ต้องกระตุ้นด้วยการให้ งานที่ท้าทายขึ้นอยู่เสมอ และพยายามสนับสนุน ให้มีโอกาสได้ทำงาน ผลงานที่ดียิ่งๆขึ้นไป

Affiliation Motive คือ ความสุขอันเนื่องมาจากการได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม หรือการ พยายามที่จะสร้างสัมพันธภาพ ระยะยาว กับคนและให้ความสำคัญกับความเป็นเพื่อนอย่างมาก สามารถสร้างแรงจูงใจ ได้โดยการให้งานที่เปิดโอกาส ให้ได้สัมพันธภาพหรือมีการปฏิสัมพันธ์กับ ผู้คน ในลักษณะที่เป็นพันธมิตรในระยะยาว หรือให้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคน โดยไม่ได้ถูกให้ ทอดทิ้งให้ทำงานคนเดียว

Power Motive คือความสุขที่เกิดจากการให้ผู้คนชื่นชมในตัวเขา รวมถึงการมีโอกาสได้ โน้มน้าวจูงใจ ผู้อื่นให้ทำใน สิ่งที่เขาต้องการให้ทำ และมีโอกาสได้ช่วยเหลือสังคมด้วยความสมัคร ใจ สามารถจูงใจพนักงานที่มีลักษณะนี้ ด้วยการให้งาน ที่มีอำนาจสั่งการในตำแหน่งที่ได้รับการ ยอมรับ เป็นที่นับหน้าถือตาของคนทั่วไป